Submission Preparation Checklist

  • บทความไม่เคยได้รับการเผยแพร่ในวารสารอื่น หรือไม่ได้อยู่ในระหว่างการพิจารณาตีพิมพ์
  • ต้นฉบับบทความ ใช้เทมเพลท Microsoft Word ที่ทางคณะกรรมการกำหนดไว้
  • ข้อมูลทั้งหมดที่เขียนในบทความ ให้เป็นความรับผิดชอบของผู้แต่ง ทางกองบรรณาธิการจะไม่รับผิดชอบใน การคัดลอกผลงานและการละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ ทั้งสิ้น

Author Guidelines

  • คำแนะนำการจัดเตรียมบทความ

เอกสารฉบับนี้จัดทำขึ้นเพื่อเป็นคู่มือในการเขียนบทความฉบับเต็มสำหรับผู้ที่มีความประสงค์ในการส่งบทความเข้าร่วมการประชุมวิชาการวิศวกรรมศาสตร์ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสถาปัตยกรรมศาสตร์ ครั้งที่ 14 ประจำปี 2566 โดยทีมผู้จัดงานได้กำหนดทั้งรูปแบบและแนวทางในการพิมพ์บทความ ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกับที่ใช้ในการจัดทำเอกสารประกอบการประชุมทั้งแบบรูปเล่มและรูปแบบ Digital file ในการเขียนบทความควรใช้เทมเพลท Microsoft Word ที่ทางคณะกรรมการกำหนดไว้ ภายหลังจากที่บทความได้รับการพิจารณาจากกรรมการพิจารณาบทความให้นำเสนอในงานประชุมดังกล่าว ผู้ส่งบทความจะต้องจัดเตรียมและส่งความฉบับสมบูรณ์ในลักษณะของ “Camera – ready” ซึ่งคณะกรรมการจัดงานจะไม่มีการดำเนินการแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้น ดังนั้น เพื่อเป็นการควบคุมคุณภาพและเพื่อให้การจัดทำเอกสารเป็นไปอย่างรวดเร็ว ผู้ที่ส่งบทความควรพิมพ์บทความตามรูปแบบและแนวทางที่กำหนดอย่างเคร่งครัด พร้อมตรวจเช็คความสมบูรณ์ของไฟล์ ความสมบูรณ์ของเนื้อหารวมถึงความชัดเจนของตัวหนังสือ รูปภาพ ตาราง และสมการก่อนที่จะส่งไฟล์ให้กับผู้จัดงาน ทั้งนี้จะถือว่าความสมบูรณ์ของบทความเป็นความรับผิดชอบโดยตรงของผู้เขียนบทความและกรรมการขอสงวนสิทธิ์ในการไม่ตอบรับบทความที่ไม่สมบูรณ์

  • รูปแบบของบทความฉบับเต็ม

บทความฉบับเต็มควรประกอบด้วย ชื่อบทความ ชื่อและที่อยู่ของผู้เขียนบทความ บทคัดย่อ คำสำคัญ เนื้อหาโดยสมบูรณ์ของบทความ กิตติกรรมประกาศ และเอกสารอ้างอิง โดยในส่วนของเนื้อหาของความ สามารถแบ่งออกเป็นหัวข้อหลัก หัวข้อย่อย และอาจแบ่งถึงหัวข้อย่อยลงมา ทั้งนี้ตัวอักษรภาษาไทยใช้อักษรแบบ TH SarabunPSK ขนาด 16pt ตัวอักษรภาษาอังกฤษและตัวเลขใช้ตัวอักษรแบบ Time New Roman ขนาด 16pt และแต่ละหน้าไม่ต้องมีการเติมหมายเลขหน้า ความยาวโดยรวมของบทความควรอยู่ในช่วง 5-8 หน้ากระดาษ

การพิมพ์ชื่อบทความ ให้พิมพ์ทั้งชื่อภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้ตัวอักษรตัวหนาขนาด 18pt โดยแต่ละคำในชื่อภาษาอังกฤษให้พิมพ์อักษรตัวแรกเป็นตัวพิมพ์ใหญ่ (ยกเว้น คำนำหน้านาม: articles, คำสันธาน: coordinate conjunctions และ คำบุพบท: prepositions นอกจากคำเหล่านี้จะถูกใช้นำชื่อเรื่อง)

 สำหรับชื่อผู้เขียนบทความให้ใช้ตัวอักษรขนาด15pt ในขณะที่ส่วนของที่อยู่ให้ใช้ตัวอักษรขนาด 12pt โดยที่อยู่ควรประกอบไปด้วยชื่อของหน่วยงาน เลขที่อยู่ เขต/ตำบล แขวง/อำเภอ จังหวัด และรหัสไปรษณีย์ ซึ่งสามารถระบุที่อยู่ของผู้เขียนแต่ละคนโดยอาศัยตัวเลขที่พิมพ์แบบยกสูง (Superscript) ไว้หลังชื่อของผู้เขียนนั้น นอกจากนั้นควรมีการระบุชื่อผู้ติดต่อ (Corresponding author) โดยการพิมพ์เครื่องหมายดอกจันทน์ ( ) ไว้หลังชื่อ และผู้ที่ทำหน้าที่ในการนำเสนอบทความ (Presenting Author) โดยการขีดเส้นภายใต้ชื่อ และสำหรับบรรทัดสุดท้ายของรายละเอียดผู้เขียนบทความให้ระบุ e-mail, เบอร์โทรศัพท์ และเบอร์โทรสารของผู้ติดต่อ

*** ทั้งชื่อบทความและรายละเอียดของผู้เขียนให้พิมพ์ไว้กลางหน้ากระดาษ

กรณีบทความภาษาอังกฤษ จะใช้รูปแบบและขนาดของตัวอักษร และรูปแบบของบทความ แบบเดียวกันกับบทความที่เขียนเป็นภาษาไทย แต่ไม่ให้มีภาษาไทยแทรกอยู่ในบทความนั้นๆ ยกเว้นชื่อเรื่อง ชื่อผู้แต่ง และบทคัดย่อ

  • บทคัดย่อและคำสำคัญ

การพิมพ์บทคัดย่อและคำสำคัญให้พิมพ์ตัวอักษรทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ใช้อักษรแบบ TH SarabunPSK ขนาด 15pt และจัดรูปแบบให้ชิดขอบทั้ง 2 ด้าน (Justified)  โดยให้พิมพ์ชื่อหัวข้อ “บทคัดย่อ” และ Abstract” เป็นแบบตัวหนาและตัวเอียง

  • เนื้อหาของบทความ

ส่วนของเนื้อหาบทความ ควรประกอบด้วยหัวข้อ ดังนี้ (1) บทนำ (2) วิธีดำเนินการวิจัย/ทดลอง (3) ผลการวิจัย (4) สรุปและอภิปรายผล (5) กิตติกรรมประกาศ (ถ้ามี) และ (6) เอกสารอ้างอิง การพิมพ์เนื้อหาต้องพิมพ์ในลักษณะแบบ 2 คอลัมน์ตามขนาดและระยะห่างที่กำหนด ตัวอักษรที่ใช้ในเนื้อหาให้มีขนาด 16pt และมีการจัดรูปแบบการพิมพ์ให้ชิดขอบทั้ง 2 ด้าน (Justified)  รวมถึงไม่ต้องมีการเว้นบรรทัดระหว่างย่อหน้า (ไม่ต้องเคาะบรรทัดเมื่อขึ้นย่อหน้าใหม่)

  • รูปภาพ ตาราง และสมการ

การนำเสนอรูปภาพและตารางสามารถนำเสนอต่อจากข้อความที่กล่าวถึงหรืออาจนำเสนอภายหลังจากจบหัวข้อหรือนำเสนอในหน้าใหม่ ขนาดของรูปภาพและตารางไม่ควรเกินกรอบของคอลัมน์ แต่หากรูปภาพและตารางมีขนาดใหญ่สามารถวางรูปและตารางให้ครอบคลุมพื้นที่ของทั้ง 2 คอลัมน์ได้ แต่ทั้งนี้ต้องไม่เกินกรอบของการตั้งค่าหน้ากระดาษที่กำหนด ทั้งรูปภาพและตารางจะต้องมีคำอธิบายโดยคำอธิบายของรูปภาพให้พิมพ์ไว้ใต้รูปภาพและอยู่กึ่งกลางคอลัมน์หรือกึ่งกลางหน้ากระดาษ หากรูปภาพใดถูกแบ่งออกเป็น 2 ส่วนให้มีการระบุคำอธิบายของแต่ละส่วนโดยอาศัยตัวอักษรภาษาไทยหรือภาษาอังกฤษในวงเล็บเรียงตามลำดับเช่น (ก) และ (ข) หรือ (a) และ (b) ส่วนคำอธิบายตารางให้พิมพ์ไว้เหนือตารางและชิดริมซ้ายของคอลัมน์หรือชิดริมซ้ายของกระดาษ  โดยการเรียงลำดับรูปภาพและตารางให้แยกการเรียงลำดับออกจากกัน การระบุหมายเลขลำดับรูปภาพและตารางในบทความให้ระบุเป็นรูปที่ และตารางที่ เช่น รูปที่ 1, รูปที่ 1 – 3, ตารางที่ 1, ตารางที่ 1 – 3 เป็นต้น ในส่วนของสมการให้เขียนไว้กลางคอลัมน์และมีการระบุลำดับของสมการโดยใช้ตัวเลขที่พิมพ์อยู่ในวงเล็บ เช่น (1), (2) เป็นต้น (ผู้เขียนสามารถศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ในไฟล์ Template)

  • กิตติกรรมประกาศ

หากต้องการเขียนกิตติกรรมประกาศเพื่อขอบคุณบุคคลหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสามารถเขียนได้ โดยให้อยู่หลังเนื้อหาหลักของบทความและก่อนเอกสารอ้างอิง

  • การเขียนเอกสารอ้างอิง

ให้รวบรวมรายชื่อสิ่งพิมพ์และวัสดุความรู้ต่าง ๆ ที่ใช้เป็นหลักฐานหรือเอกสารอ้างอิงในการศึกษาไว้ท้ายบทความ โดยการอ้างอิงในบทความให้อ้างอิงโดยใช้รูปแบบตัวเลข (Numbered List) อาศัยตัวเลขในวงเล็บเหลี่ยม เช่น [1], [1,2] หรือ [1-3] เป็นต้น  เรียงลำดับตามการอ้างอิงก่อนหลัง โดยสำหรับรูปแบบการพิมพ์รายชื่อเอกสารอ้างอิงจากแหล่งต่าง ๆ กำหนดให้มีรูปแบบดังตัวอย่างต่อไปนี้

บทความจากวารสาร (Journal)

[1] สมชัย ฤชุพันธุ์. (2519). “หลักการในการจัดเก็บภาษีมรดกและภาษีการให้.” สรรพากรสาส์น 23, 4 (กรกฎาคมสิงหาคม): 37-53.

[2] Donaldson, Joe F., and Steve Graham. (1999). “A model of college outcomes for adults.” Adult Education Quartery 50, 1 (November): 24-40.

บทความจากเอกสารประกอบการประชุม (Proceedings)

[1] วรพร ภู่พงศ์พันธุ์. (2548). “กฎหมายตราสามดวง: ภาพสะท้อนสังคมไทย.” เอกสารประกอบการประชุมวิชาการ เรื่อง ความก้าวหน้าและกระแสการศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดโดย สมาคมประวัติศาสตร์ใน พระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีณ ห้องประชุมสํานักหอสมุดแห่งชาติกรมศิลปากร ท่าวาสุกรี, 12-13 มีนาคม.

[2] Masahiro Kawai. (2008). “BRIICS economies: Prospects and challenges for globalisation.” Keynote speech at 2008 OECD global forum on trade: Globalisation and emerging economies, Paris, June 25-26. 

รายงาน

[1] กระทรวงศึกษาธิการ. (2548). “ประกาศกระทรวงศึกษาธิการ เรื่อง เกณฑ์มาตรฐานหลักสูตรระดับบัณฑิตศึกษา พ.ศ. 2548.” 21 กุมภาพันธ์.

[2] Thailand. Mahidol University. (2009). “Academic Regulations of Graduate Studies, Mahidol University, B.E. 2552 (2009).” July 3.

หนังสือ

[1] Turabian, Kate L. (2007). A manual for writers of research papers, theses, and dissertations: Chicago style for students and researchers. 7th ed. Revised by Wayne C. Booth, Gregory G. Colomb, Joseph M. Williams, and University of Chicago Press editorial staff. Chicago: University of Chicago Press.

[2] ทวีป วรดิลก. (2542). ประวัติศาสตร์จีน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ.

[3] สมควร รําไพกุล และอิสรา รําไพกุล. (2528). ไฟฟ้ากับชีวิตประจําวัน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

[4] Campbell, William G., and Stephen V. Ballou. (1974). Form and style: Theses, reports, term papers. 4th ed. Boston: Houghton Mifflin.

 [5] นฤมิตร ลิ่วชนมงคล, สุภาพ แสงบุญไท และถาวร เก็งวินิจ. (2527). คู่มือตึกแถว. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์นําอักษรการพิมพ์.

[6] Beredy, George Z. F., William W. Brickman, and Gerald H. Head. (1960). The changing Soviet school. Boston: Houghton Mifflin.

เว็บไซต์

[1] กาญจนา นาคสกุล. (2554). เครื่องหมายทวิภาค. เข้าถึงเมื่อ 5 กุมภาพันธ์. เข้าถึงได้จากhttp://www.royin.go.th/th/knowledge/detail.php?ID=314

[2] Smith, Ann. (1996). How to cite electronic documents. Accessed August 30. Available from http://inst.Augie.Edu/-asmith/

[3] Pioch, Nicholas. (1995). All you ever wanted to know about the Web Museum. Accessed December 6. Available from http://sunsite.unc.edu/wrn/about